ความสำเร็จของสินค้าในตลาดนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพที่สม่ำเสมอ ราคา ความพร้อมในการจัดจำหน่าย และอื่น ๆ แต่ปัจจัยหนึ่งที่มักมีความสำคัญที่สุดคือ “การเพิ่มความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาด” ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันที
จากการสำรวจในรายงาน American Manufacturing Pressure and Productivity Index พบว่า “การเพิ่มความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาด” คือเป้าหมายหลักของผู้บริหารการผลิตในปี 2025 โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจเป็นจำนวนถึง 23% จัดให้เป็นเป้าหมายสำคัญในลำดับแรก ซึ่งสูงกว่า “การจ้างงานและรักษาพนักงานที่มีทักษะ” (18%) และ “การเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน” (14%) ที่ถึงแม้จะยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน แต่ทว่าความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาดถูกมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าในการรักษาธุรกิจให้ยั่งยืน
แม้ว่าปัญหาด้านแรงงานที่มีทักษะและซัพพลายเชนจะเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ในหลายๆ ธุรกิจก็เชื่อว่าการเพิ่มความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาด คือ วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาธุรกิจให้อยู่รอด การมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาดจะสร้างความได้เปรียบที่เป็นวงกว้างและจะสามารถขึ้นนำคู่แข่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
ทำไมการเพิ่มความเร็วในการผลิตจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมนี้?
หากความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาดมีความสำคัญอย่างมาก เหตุใดบริษัทส่วนใหญ่จึงยังไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้? สาเหตุหลักนั่นก็คือการที่ไม่เข้าใจว่าขั้นตอนใดในไทม์ไลน์การผลิตนั้นจะสามารถปรับปรุงให้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
สำหรับภาพรวมแล้วนั้น กระบวนการผลิตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ กระบวนการทางดิจิทัล และ กระบวนการทางกายภาพ
- กระบวนการทางดิจิทัล ได้แก่ การออกแบบสินค้า กำหนดสเปค จัดหาชิ้นส่วน และการตั้งราคาหรือวางจำหน่าย
- กระบวนการทางกายภาพ ได้แก่ การขึ้นรูป การประกอบ การเคลือบผิว และการขนส่งสินค้า
โดยทั่วไป การเข้าใจต้นทุนด้านเวลาในกระบวนการทางกายภาพจะชัดเจนและวัดผลได้ง่ายกว่ากระบวนการทางดิจิทัล เพราะขั้นตอนของกระบวนการทางกายภาพมีความสม่ำเสมอและสังเกตได้ง่ายกว่า เช่น เครื่องจักรจะทำงานเสร็จภายในเวลาที่คาดการณ์ได้ทุกครั้ง และสามารถบอกได้ชัดเจนว่าเสร็จสิ้นเมื่อใด หากเปรียบเทียบกับขั้นตอนอย่างการจัดหาชิ้นส่วนประกอบ ซึ่งอาจใช้เวลาที่แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละโครงการ โดยมักจบลงที่ขั้นตอนที่คลุมเครือว่า “ดีพอแล้วหรือยัง” และอาจต้องย้อนกลับมาทำงานซ้ำหลายครั้ง
ด้วยเหตุนี้ หลายบริษัทจึงมุ่งเน้นการประหยัดเวลาในกระบวนการทางกายภาพ เนื่องจากการลงทุนในส่วนนี้มักมีเหตุผลรองรับที่ชัดเจนกว่า ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้เงินจำนวนหนึ่งในการอัปเกรดเครื่องจักรให้ทำงานได้เร็วขึ้นไม่กี่นาที คุณสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำว่าการลงทุนนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาดได้มากแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม หลายๆ การปรับปรุงที่มีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกระบวนการทางกายภาพได้ถูกดำเนินการไปแล้ว ทั้งในบริษัทของคุณเองและบริษัทคู่แข่ง ด้วยความเชี่ยวชาญและความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารโรงงาน ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกาก้าวหน้าไปอย่างมากในด้านกระบวนการทางกายภาพ การลงทุนเพิ่มเติมในส่วนนี้อาจให้ผลตอบแทนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกัน การปรับปรุงที่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดยังคงอยู่ในกระบวนการทางดิจิทัล ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นวัตกรรมใหม่ๆ ได้เข้ามาช่วยสร้างโอกาสในการเร่งความเร็วของอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจัยที่ส่งผลให้ความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาดเกิดความล่าช้า
ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตต่างก็ทราบดีว่ากระบวนการทางดิจิทัลของพวกเขายังมีจุดล่าช้าที่ไม่จำเป็นอยู่ จากการสำรวจของเราพบว่ามีปัญหาข้อมูลภายในหลายประการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อ ฝ่ายขาย และวิศวกร ต่างชี้ให้เห็นว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความล่าช้า ยกตัวอย่างเช่น:
- 55% ของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อระบุว่า การเข้าถึงข้อมูลชิ้นส่วนในคลังและข้อมูลประวัติการใช้งาน จะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับฝ่ายวิศวกรรมได้เร็วขึ้น
- 59% เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องของสินค้า
- 67% ของวิศวกรกล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลคุณภาพโดยอ้างถึงโครงการอื่นจะสามารถช่วยให้การออกแบบมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- 63% ของวิศวกรกล่าวว่า ข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงการออกแบบเข้ากับต้นทุน จะส่งผลต่อการตัดสินใจในการผลิตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ในความเป็นจริง ข้อมูลเหล่านี้มักกระจายอยู่ตามโปรแกรมต่าง ๆ ทำให้การค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ช้าลงอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความล่าช้าโดยไม่จำเป็น
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้การนำสินค้าออกสู่ตลาดล่าช้า คือ การต้องซื้อชิ้นส่วนใหม่เนื่องจากไม่ตรงตามสเปคที่กำหนด และเมื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อ เราพบว่า 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องหาชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ หรือซัพพลายเออร์ใหม่ เพราะการสั่งซื้อครั้งแรกไม่ตรงตามสเปค ความล่าช้านี้มีต้นทุนสูงมาก และในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือการเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ เช่นเดียวกับความล่าช้าอื่น ๆ สาเหตุหลักมาจากข้อมูลที่สำคัญยังคงกระจัดกระจายอยู่ในแต่ละฝ่าย และไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างสม่ำเสมอ
การเร่งความเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาดด้วยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด
ตั้งแต่อดีตในอุตสาหกรรมการผลิต ความล่าช้าประเภทนี้มักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การค้นหาข้อมูลที่ต้องการในอดีตนั้นจะเริ่มจากการโทรหาผู้ที่สามารถค้นหาเอกสารในตู้เก็บแฟ้มและส่งภาพวาดมาให้เรา จากนั้นเราก็มีเครื่องแฟกซ์ อีเมล สเปรดชีต และเครื่องมือ CAD โดยในแต่ละขั้นตอนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ยังคงต้องพึ่งการค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งทำให้กระบวนการล่าช้า
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้พบวิธีการใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลที่เกิดจากเทคโนโลยีอย่างการประมวลผลภาพ (Machine Vision) และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้นผ่านเกณฑ์ที่เข้าใจได้ แทนที่จะต้องจดจำรหัสเฉพาะหรือป้ายกำกับที่ไม่สอดคล้องกัน
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณต้องการค้นหาแบบเก่าของตลับลูกปืนที่มีรูสี่เหลี่ยมด้านใน เพื่อใช้อ้างอิงสำหรับคำสั่งจัดซื้อใหม่ โดยปกติคุณจะต้องรู้หมายเลข ID ของชิ้นส่วนนั้น หรือเลื่อนดูภาพวาดจำนวนมากที่ถูกแท็กคำว่า “ตลับลูกปืน” แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ อย่างเช่น CADDi Drawer คุณสามารถร่างภาพสิ่งที่ต้องการอย่างรวดเร็วและค้นหาผ่านความคล้ายคลึงกันของการออกแบบได้เลย
การค้นหาที่รวดเร็วและใช้งานง่ายนี้ช่วยลดหรือขจัดแหล่งที่มาของความล่าช้าได้หลายจุด รวมถึงหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่มีต้นทุนสูง เช่น การจัดหาชิ้นส่วนที่ไม่ตรงตามสเปค ความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างทวีคูณ เพราะวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญการจัดซื้อไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล พวกเขาจึงมีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งนำไปสู่การรวมคำสั่งจัดซื้อที่ดีขึ้น ส่งผลให้เวลาตอบสนองรวดเร็วขึ้น และสามารถออกแบบได้มีคุณภาพสูงและผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตอบสนองความต้องการของตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใด ๆ เปรียบเสมือนการแข่งขัน จงมั่นใจว่าคุณออกสตาร์ทได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการมีข้อมูลที่จำเป็นอยู่ในมือ รับชมการสาธิตผลิตภัณฑ์ หรือ รับชมการสาธิตแบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อดูว่า CADDi สามารถช่วยคุณได้อย่างไร